Skip to content

ADME

รู้ Pain Point ของลูกค้า ตัวช่วยไขสู่ความสำเร็จที่เหนือกว่าใคร

Pain Point ของลูกค้า กุญแจสำคัญไขสู่ความสำเร็จที่เหนือกว่าใคร

Table of Contents

ในแวดวงการตลาดดิจิทัลน่าจะเคยได้ยินคำว่า Pain Point ของลูกค้าบ่อยครั้ง เพราะ Pain Point คือปัญหาที่ลูกค้าพบเจอเมื่อได้ใช้สินค้าหรือบริการของเรา นักการตลาดจึงต้องทำการวิเคราะห์ Pain Point เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่ลูกค้าเผชิญอยู่ เพราะ Pain Point ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจในตัวสินค้าและบริการของลูกค้า ดังนั้นธุรกิจที่สามารถแก้ไข Pain Point ได้ก่อนแบรนด์อื่น ย่อมมีโอกาสแย่งชิงพื้นที่ในตลาดได้มากกว่า ในบทความนี้ ADME บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ขอพามารู้จัก Pain Point คืออะไร
และ Pain Point มีอะไรบ้าง? เพื่อให้การทำการตลาดออนไลน์ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

Pain Point ของลูกค้าคือ? รู้ก่อนเสียลูกค้าคนสำคัญโดยไม่รู้ตัว

Pain Point คือปัญหาที่ลูกค้าพบเจอและต้องการแก้ไข หากเจ้าของธุรกิจอยากได้เปรียบทางการแข่งขันต้องค้นหาให้ได้ว่าลูกค้ากำลังมีปัญหาเรื่องอะไร เพื่อนำเสนอทางออกหรือสินค้าในการแก้ปัญหาดังกล่าว ฉะนั้นถ้าทราบ Pain Point ของลูกค้าแล้วทำการวิเคราะห์ Pain Point จนเข้าใจปัญหาของลูกค้าอย่างแท้จริง ก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนกลยุทธ์การตลาดหรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างตรงจุด และเป็นที่ยอมรับของลูกค้าได้ไม่ยาก

ด้วยเหตุนี้เจ้าของธุรกิจที่ต้องการสร้างจุดแข็งให้กับแบรนด์ของตน ควรมองหาบริษัทรับทำตลาดออนไลน์แบบครบวงจร ที่มีบริการวิเคราะห์ Pain Point เชิงลึกของลูกค้าซึ่งเป็นปัญหาขององค์กรที่จะต้องเร่งแก้ไข ช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจปัญหาหรือจุดอ่อนของสินค้า จนนำไปสู่การพัฒนาสินค้าและพัฒนาการสื่อสารทางการตลาด เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงจุด และตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น

Pain Point ของลูกค้าสำคัญอย่างไร? ทำไมคนทำธุรกิจออนไลน์ควรรู้

มาถึงตรงนี้สรุปได้ว่า การทำ Pain Point ของลูกค้าสำคัญต่อการทำธุรกิจยุคดิจิทัลมาก หากผู้ประกอบการหรือนักการตลาดค้นหา Pain Point ของลูกค้าที่กำลังเผชิญอยู่ ต้องการแก้ปัญหาอย่างไร การวิเคราะห์ Pain Point จะส่งผลให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการหรือความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และส่งผลดีต่อการขยายฐานลูกค้าในอนาคตอีกด้วย เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการทำ Pain Point ของลูกค้าที่มีประโยชน์ไม่แพ้บริการรับทำ SEO ติดหน้าแรกซึ่งเป็นหนึ่งในกลวิธีที่ได้จากการวิเคราะห์ Pain Point ตามมาดูข้อดีของการค้นหา Pain Point ที่ ADME Media รวบรวมมาฝากกัน

  • ระบุปัญหาหรือจุดอ่อนขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถดำเนินการสืบค้นหาสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และนำสู่ผลประกอบการและกำไรที่ดีขึ้น
  • มีโอกาสได้ฐานลูกค้าใหม่ ๆ เพราะสินค้าหรือบริการนั้นสามารถแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้


คำถามที่ต้องตอบ ปัญหา Pain Point ของลูกค้าธุรกิจ มีกี่ประเภท

เมื่อทราบแล้วว่าการวิเคราะห์ Pain Point ของลูกค้ามีความสำคัญอย่างไร? เชื่อว่ามีธุรกิจจำนวนไม่น้อยสนใจที่จะค้นหา Pain Point ของลูกค้า เพราะต้องการนำจุดอ่อนหรือปัญหาที่พบมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลูกค้า แต่ก่อนจะวิเคราะห์ Pain Point ของลูกค้า มาดูกันว่า Pain Point ของลูกค้าที่ธุรกิจต้องพบมีกี่ประเภท

1. Financial pain point

ปัญหาด้านการเงินเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในบรรดา Pain Point ของลูกค้า เพราะปัญหานี้จะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้ารู้สึกว่าเงินที่จ่ายไป ไม่คุ้มกับสินค้าหรือบริการที่ได้รับมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ลูกค้าจะเปรียบเทียบความคุ้มค่าก่อนจ่ายเงินให้กับสินค้าหรือบริการใด ๆ  ด้วยเหตุนี้เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องวางกลยุทธ์เพื่อเสนอตัวเลือกที่เป็นมิตรกับงบประมาณ
และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

2. Process pain point

เป็นปัญหาที่อาจเกิดจากกระบวนการที่ซ้ำซ้อนหรือขาดประสิทธิภาพจนทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจกับบริการที่ได้รับ ดังนั้นเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและประสิทธิภาพการทำงาน ควรตอบปัญหาด้านกระบวนการตามแนวคิดนี้ให้ได้

การทำความเข้าใจ Pain Point ของลูกค้าที่เกิดจากกระบวนการภายในธุรกิจ นอกจากทำให้เจ้าของธุรกิจเห็นจุดที่ต้องการปรับปรุงได้อย่างชัดเจน ยังสามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันทีด้วย เพราะยิ่งลูกค้าพึงพอใจกับบริการมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของเราได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง

นาย A สนใจเช่ารถยนต์เพื่อขับไปเที่ยวช่วงวันหยุดยาว จึงเข้ามาดูข้อมูลรถเช่าบนเว็บไซต์ แต่ปรากฎว่านาย A ใช้เวลาบนหน้าเว็บนานเกือบ 40 นาที ก็ยังไม่เจอรายละเอียดรถยนต์รุ่นที่สนใจ ทั้งที่มีการโปรโมตรถรุ่นดังกล่าวไว้ที่หน้าแรกของเว็บ

นั่นแสดงว่าการออกแบบหน้าเว็บไซต์ของคุณกำลังมีปัญหา เพราะลูกค้าไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจ
ของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังทำให้ธุรกิจเสียโอกาสให้กับเว็บคู่แข่งที่สะดวกและรวดเร็วกว่าอีกด้วย

เป็นการนำข้อเสนอแนะของลูกค้าที่เคยใช้สินค้าหรือบริการของธุรกิจมาทำการวิเคราะห์ Pain Point เพื่อหาแนวปรับปรุงกระบวนการภายในที่ลูกค้ามองว่าเป็นปัญหา
หรือจุดอ่อนที่ทำให้รู้สึกไม่อยากใช้สินค้าหรือบริการของเราอีกต่อไปนั่นเอง

ตัวอย่าง

นาย C ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าได้ซื้อโปรแกรมขายหน้าร้านของบริษัท Y มาใช้งาน เพื่อจัดระบบสต๊อกสินค้าภายในร้าน แต่พบว่าโปรแกรมดังกล่าวมีการทำงานที่ซับซ้อน ทำให้การเช็กสต็อกคงเหลือหน้าร้านล่าช้าจนเสียลูกค้าไปหลายราย จึงแจ้งข้อเสนอแนะไปยังบริษัท Y ให้รับทราบ

กรณีนี้หากบริษัท Y ได้นำ Pain Point ของลูกค้ามาทำการวิเคราะห์เพื่อหาจุดบกพร่องของโปรแกรมขายหน้าร้าน แล้วเร่งปรับแก้โปรแกรมให้ใช้งานง่ายขึ้น นอกจากสามารถแก้ไขปัญหาลูกค้าได้อย่างตรงจุด ยังอาจเกิดการบอกต่อจนทำให้มีคนสนใจโปรแกรมของบริษัทเพิ่มมากขึ้น

3. Support pain points

หากเอ่ยถึงปัญหา Pain Point ของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุน เชื่อว่าหลายคนอาจนึกถึงทีมขายซึ่งทำหน้าให้บริการและข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าสนใจ ทำให้ทีมขาย
เปรียบเสมือนด่านแรกที่ลูกค้าพบเจอเวลาเข้ามาเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา ดังนั้นถ้าฝ่ายขายสามารถให้ข้อมูลได้ตรงความต้องการลูกค้า จะยิ่งทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
และอยากกลับมาใช้บริการกับเราอีกครั้ง

ตัวอย่าง

นาย B สนใจซื้อมือถือเครื่องใหม่จึงเข้ามาสอบถามกับนาย K พนักงานขายของร้าน ว่ามีมือถือราคาไม่เกิน 20,000 บาท ถ่ายรูปสวย ถ่ายคลิปวิดีโอ และลงแอปพลิเคชันตัดต่อได้ กรณีนี้หากนาย K สามารถแนะนำมือถือตามสเปกนาย B ได้ย่อมสร้างความพึงพอใจให้กับนาย B ทั้งมีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนนาย B จากคนเข้ามาสอบถามข้อมูลเป็นผู้ซื้อมือถือได้

แต่หากนาย K ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ แถมยังแนะนำมือถือรุ่นที่ราคาสูงเกินงบและสเปกไม่ตรงความต้องการ นอกจากเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ได้ดีกับนาย B แล้ว มีโอกาสสูง
ที่นาย B จะออกไปเลือกซื้อมือถือกับร้านคู่แข่ง

4. Productivity pain points

สำหรับ Productivity pain points เป็นปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประสิทธิของสินค้าหรือบริการดังกล่าว

ตัวอย่าง

นาย P ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท M มาใช้แล้วพบว่า สินค้าไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ทั้งยังพบความยุ่งยากจากการใช้สินค้าดังกล่าว มีผลให้นาย P หันไปเลือกซื้อสินค้า
จากบริษัทอื่นแทน เพราะคิดว่าสินค้าประเภทอื่นของบริษัท M ก็มีคุณสมบัติไม่ดีเหมือน ๆ กัน

แน่นอนว่าถ้านาย P แจ้ง Pain Point ของสินค้าชิ้นนี้ให้บริษัท M รับรู้ก็มีโอกาสที่บริษัท M จะแจ้งทีมงานให้ประเมินว่าปัญหาที่มีผลต่อประสิทธิภาพเกิดขึ้นจากอะไร?
มีวิธีแก้ไขอย่างไร จากนั้นค่อยนำผลการวิเคราะห์ Pain Point มาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

อยากจะรู้ Pain Point ของลูกค้า ต้องทำอย่างไร? ที่นี่มีคำตอบ

ถึงการรู้จักประเภท Pain Point ของลูกค้าที่ธุรกิจต้องพบเจอ จะมีข้อดีตรงช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถใช้ผลจากการวิเคราะห์ Pain Point มาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
และพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างตรงจุด จนนำสู่ผลประกอบการและกำไรที่ดีขึ้น แต่รู้ไหมว่าการรวบรวม Pain Point ของลูกค้าสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังต่อไปนี้

การรับฟังข้อเสนอแนะจากลูกค้าถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเก็บข้อมูล Pain Point ของลูกค้า เพราะทำให้คุณทราบถึงความพึงพอใจและสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้ปรับปรุง
เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์จะเห็นถึงจุดอ่อนได้ชัดเจนมากขึ้น จนนำไปสู่การค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ข้อเสนอแนะดังกล่าว ซึ่งวิธีรวบรวม Feedback ที่นิยมใช้
ในปัจจุบันคือแบบสำรวจความพึงพอใจลูกค้าที่สามารถประเมินผลได้ทั้งก่อนและหลังใช้สินค้าหรือบริการต่าง ๆ

ทีมขายของบริษัทคือแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมที่ทำให้คุณเข้าใจความคาดหวังของลูกค้า เพราะทีมขายเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้พูดคุยกับลูกค้าโดยตรง จึงรู้ว่าลูกค้ากำลังมองหาสินค้าหรือบริการแบบไหน ราคาสินค้าที่ง่ายต่อการตัดสินใจซื้ออยู่ที่เท่าไหร่ นอกจากนี้ข้อมูลเชิงลึกยังนำไปใช้แก้ปัญหาสำหรับทีมขายและการตลาด ปรับปรุงกระบวนการขาย
และแม้กระทั่งวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์

การตรวจสอบข้อมูลพฤติกรรมช่วยให้เราทราบข้อมูลเชิงลึกที่ดีของลูกค้า เพราะข้อมูลพฤติกรรมสามารถบอกคุณได้ว่าลูกค้าของคุณต้องการทำอะไรหรือกำลังจะทำอะไร
และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด ก็จะนำมาซึ่งแผนพัฒนาสินค้า วิธีปรับปรุงการให้บริการ ไปจนถึงแนวทางโปรโมตผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยข้อมูลตรงส่วนนี้อาจมาจากทีมขาย การทำแบบสำรวจความพึงพอใจ หรือรีวิวจากลูกค้านั่นเอง

ทุกวันนี้แพลตฟอร์มออนไลน์จะมีช่องรีวิวสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าได้เขียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บนโซเชียลมีเดีย ทำให้พื้นที่นี้มีทั้งข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะต่าง ๆ
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจมาก เมื่อคุณรวบรวมข้อมูลรีวิวจากแหล่งต่าง ๆ ได้แล้ว ก็จะมองเห็นภาพ Pain Point ของลูกค้าได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นถ้าอยากได้ข้อมูล
ไปทำการวิเคราะห์ Pain Point ของธุรกิจ อย่าลืมดูรีวิวของลูกค้าบนเว็บไซต์เด็ดขาด

แม้จะพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็อาจมีลูกค้าบางกลุ่มที่คุณยังไม่สามารถเข้าถึงได้ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ แต่อาจเกิดจากสื่อที่ส่งออกไปยังไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้นการเฝ้ามองการทำธุรกิจของคู่แข่งจะช่วยให้เรามีข้อมูลมาใช้วิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาดในอนาคต เมื่อถึงเวลาที่จะปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดให้ตรงใจลูกค้าก็ไม่ใช่เรื่องยาก โดยการวิเคราะห์ Pain Point ตรงส่วนนี้สามารถรวบรวมข้อมูลจาก

  • ประเมินเว็บไซต์ ราคา คำถามที่พบบ่อย (FAQs) และลักษณะเว็บของคู่แข่ง
  • จดบันทึกปัญหาที่ลูกค้าพบที่คู่แข่งได้แก้ไข เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้ในเว็บไซต์หรือข้อความของแบรนด์ของคุ
  • ค้นหาโฆษณาของคู่แข่งใน Google และดูข้อความโฆษณาอย่างละเอียด โฆษณาเหล่านี้จะมุ่งเป้าไปที่ปัญหาของลูกค้า ตรวจสอบดูว่าข้อความโฆษณาของคุณต้องแก้ไข
       หรือไม่
  • ทำการเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่คู่แข่งของคุณได้เปิดใช้ เพื่อให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีเช่นเดียวกัน

นำ Pain Point ของลูกค้ามาพัฒนา Customer Journey ได้อย่างไร?

ก่อนไปหาคำตอบว่าจะนำ Pain Point ของลูกค้ามาพัฒนา Customer Journey อย่างไรดี? ตาม ADME มาทำความเข้าใจก่อนว่า Customer Journey คืออะไร?
สำหรับ Customer Journey ทฤษฎีที่แสดงให้เห็นว่าเส้นทางที่ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ต้องมีการผ่านขั้นตอนอะไร หรือทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง ด้วยเหตุนี้
Customer Journey จึงมีบทบาทสำคัญต่อการตลาดออนไลน์เป็นอย่างมาก และเพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อของลูกค้าตามมาดูขั้นตอนปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการวิเคราะห์ Pain Point กัน

จัดลำดับความสำคัญ Pain Point ของลูกค้าที่พบ

เมื่อทราบผลการวิเคราะห์ Pain Point แล้วให้จัดลำดับความสำคัญว่าปัญหาไหนที่มีความเร่งด่วนมากที่สุด จากนั้นค่อย ๆ แก้ Pain Point ของลูกค้าตามที่จัดไว้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าเวลาใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา

ตัวอย่าง

หลังบริษัท B ได้รับผลการวิเคราะห์ Pain Point เกี่ยวกับหมอนเพื่อสุขภาพ จึงจัดลำดับ Pain Point ของลูกค้าไว้ดังนี้ (1) หมอนแข็งเกินไป และ (2) หมอนใบเล็กไม่พอดีกับศีรษะ จากนั้นบริษัท B ก็ทำการแก้ไข Pain Point ตามลำดับความสำคัญที่จัดไว้จนครบถ้วน จนสามารถสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าใหม่ที่เลือกซื้อหมอนเพื่อสุขภาพไปใช้งาน

การพัฒนาวิธีแก้ไข

เมื่อเข้าใจ Pain Point ของลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการพัฒนาวิธีแก้ไขปัญหาของลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อของลูกค้า เช่น Pain Point ของลูกค้าคือตัวผลิตภัณฑ์
กรณีนี้แก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของลูกค้า หรือลูกค้าประสบปัญหากับค่าธรรมเนียมอินเทอร์เน็ต กรณีนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถแก้ไข
Pain Point ด้วยการปรับเพิ่มแพกเกจอินเทอร์เน็ตใหม่ให้มีราคาและความเร็วที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้บริการเลือกแพกเกจที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

นำข้อเสนอแนะนำมาใช้ประโยชน์

สำหรับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ลูกค้ามีต่อสินค้าหรือบริการเป็นอีกวิธี ที่ช่วยให้ธุรกิจมองเห็นช่องทางแก้ไขปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่ได้อย่างตรงจุด เช่น ลูกค้าต้องใช้เวลาต่อแถวเพื่อซื้อตั๋วชมภาพยนตร์เป็นเวลานาน การเพิ่มตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติที่ใช้งานง่าย ๆ นอกจากช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ยังอาจเป็นการเพิ่มยอดขายตั๋วอีกด้วย

การติดตามผล

หลังจัดการกับ Pain Point ของลูกค้าไปบ้างแล้ว การติดตามผลว่าผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือไม่? ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลย ซึ่งวิธีติดตามผลสามารถทำได้ทั้งการส่งแบบสำรวจติดตามผลไปให้ลูกค้าทาง E-Mail รวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าจากเว็บไซต์ธุรกิจหรือแพลตฟอร์มขายอื่น ๆ

ตัวอย่าง Pain Point ของลูกค้าที่ธุรกิจแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

สำหรับใครที่ยังมองภาพการแก้ Pain Point ของลูกค้าที่ธุรกิจต้องพบเจอไม่ออก ว่า Pain Point ของลูกค้าแต่ละเรื่องนั้นมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไรถึงเรียกว่าตรงจุด
ตาม ADME Media มาดูตัวอย่าง Pain Point ของลูกค้ากัน

น.ส.B และกลุ่มเพื่อนตั้งใจไปเล่นน้ำสงกรานต์ที่ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น แต่ก็กังวลว่าเครื่องสำอางที่แต่งมาจะหลุดไปเมื่อโดนน้ำสาด เพราะเครื่องสำอางที่ใช้อยู่
ไม่กันน้ำ

  • Pain Point ของลูกค้า คือ เครื่องสำอางกันน้ำไม่ได้
  • วิธีแก้ Pain Point คือ เครื่องสำอางกันน้ำ กันเหงื่อที่ติดทนทาน


ดังนั้นเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางที่ต้องการกระตุ้นยอดขายช่วงสงกรานต์ ควรออกผลิตภัณฑ์ที่สามารถกันน้ำ กันเหงื่อได้ในช่วงเวลานี้

นาย C พักอยู่ในคอนโดแห่งหนึ่งแล้วมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวนตอนกลางคืนเป็นประจำ เมื่อสำรวจปัญหาแล้วพบว่า เป็นเสียงรบกวนที่เกิดจากเพื่อนร่วมคอนโดที่อยู่ห้องใกล้ ๆ กันหรือจากชั้นอื่น 

  • Pain Point ของลูกค้า คือ เสียงรบกวนตอนกลางคืน
  • วิธีแก้ Pain Point กรณีนี้อาจแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

(1) บริษัทผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ควรใช้วัสดุเก็บเสียงทำผนังคอนโด
(2) นิติบุคคลประจำคอนโด ทำประกาศเตือนผู้อยู่อาศัยให้งดใช้เสียงหลัง 22.00 น. 
(3) เจ้าห้องติดตั้งแผ่นดูดซับเสียงที่ผนังห้องเพิ่ม เพื่อกันเสียงรบกวนจากภายนอก

สรุปได้ว่า การหา Pain Point ของลูกค้าเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจควรทำอย่างมาก เพราะ Pain Point คือ 1 ในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ช่วยให้ธุรกิจรู้ว่า Pain Point มีอะไรบ้าง?
ก่อนทำการวิเคราะห์ Pain Point เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าและเร่งแก้ไขเพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ผ่าน Pain Point ของลูกค้าจึงช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง แต่นอกจาก Pain Point การวิเคราะกลยุทธ์ทางการตลาดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่ง ADME บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร ที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ
ด้าน Marketing Online พร้อมทำการตลาดออนไลน์เพื่อวิเคราะห์ Pain Point ให้คุณ