Skip to content

ADME

แจกวิธีตรวจสอบ Plagiarism ที่ช่วยให้บทความเราไม่ซ้ำ

เช็ค Plagiarismคืออะไร ทำไมต้องเช็คว่าเราคัดลอกผลงานของใครอยู่รึเปล่า ?

หลายๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับการตรวจ Plagiarism คือการที่เรานั้นเช็คว่าผลงานนั้นๆ ได้ถูกคัดลอกมาจากคนอื่นโดยที่ไม่มีการอ้างอิงหรือไม่ สำหรับการเช็ค Plagiarismในบางสถาบันได้กล่าวว่า Plagiarism นั้นถือเป็นการละเมิดคุณธรรมทางวิชาการและเป็นการละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารอีกด้วย ซึ่งในราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำภาษาไทย Plagiarism ไว้ว่า โจรกรรมทางวรรณกรรมหรือโจรกรรมทางวิชาการหรือการลอกเลียนวรรณกรรม และที่สำคัญการตรวจเช็ค Plagiarism ยังสำคัญมากต่อการเขียนบทความการตลาดออนไลน์ ซึ่งเราสามารถตรวจ Plagiarism ฟรีได้ด้วยตนเองง่ายๆ โดยนำบทความหรืองานเขียนของเราที่ไม่มั่นใจว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นรึเปล่านั้นไปลงไว้ในเว็บตรวจการคัดลอกงานภาษาไทยต่างๆ 

หนึ่งในส่วนสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์คือ นักเขียน ซึ่งการเป็นนักเขียนนั้นมักจะต้องหาไอเดียเพื่อการพัฒนาคอนเทนต์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อการเขียนบทความที่ดีอยู่เสมอ แต่เนื่องด้วยบนโลกอินเตอร์เน็ตบางไอเดียนั้นถูกเขียนเป็นบทความและเผยแพร่ไปแล้ว ซึ่งบางทีเราอาจเขียนบทความซ้ำกับคนอื่นโดยไม่รู้ตัว Plagiarism อาจเกิดขึ้นกับเราได้ในเหตุหรือปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ถ้าหากเราต้องหาไอเดียในการเขียนแล้วพบว่าเว็บไซต์บางแห่งนั้นมีข้อมูลหรือไอเดียที่เราต้องการ พอเราเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นแล้วนำมาประกอบกับงานเขียนหรือบทความของเราอาจจะใช้ไอเดียคนอื่นมาโดยที่ไม่รู้ตัว การตรวจเช็ค Plagiarism ไม่เพียงแค่เรื่องการคัดลอกไอเดียแต่รวมไปถึงลักษณะการเขียนอีกด้วย 

เช็คตัวเองว่าเราเข้าข่าย Plagiarism หรือไม่สำหรับบทความ

การลองสำรวจตัวเองจึงจำเป็นมากที่จะช่วยไม่ให้งานของเรานั้นเข้าข่าย Plagiarism งานของใครหรือมี ตรวจ Plagiarism ว่าใครนำผลงานหรือไอเดียของเราไปใช้อยู่หรือไม่โดยตรวจสอบการกระทำได้ดังนี้

  •  คัดลอกข้อความจากบทความผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
  •  นำคำกล่าวของผู้อื่นมาใช้ในงานเขียนโดยไม่อ้างอิง
  •  เขียนโดยการสรุปให้ข้อความสั้นลงจากต้นฉบับโดยไม่อ้างอิง
  •  นำต้นฉบับมาปรับเปลี่ยนคำพูดหรือดัดแปลงให้แตกต่างจากเดิมโดยไม่อ้างอิง
  •  เขียนโดยนำกราฟหรือข้อมูลทางสถิติของผู้อื่นมาใช้ โดยไม่อ้างอิง
  • คัดลอกแนวคิดโดยการนำทฤษฎีต่างๆ ที่เคยมีผู้อื่นวิเคราะห์มาแล้วมาวิเคราะห์หรือวิจารณ์โดยไม่อ้างอิง
  • Copy Paste งานคนอื่นมาทั้งประโยค ถึงแม้จะทำการอ้างอิง ใส่ใน Reference

(แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ถ้าประโยคไหนที่เป็นคำพูดคำกล่าวของคนอื่น เราสามารถใส่เครื่องหมายคำพูด พร้อมบอกชื่อคนพูดประโยคนั้นไปได้)

อย่างที่เราทราบกันว่าการคัดลอกผลงานนั้นมีหลายประเภทในด้านการเขียน บทความ SEO แต่ในโลกออนไลน์นั้นการคัดลอกไอเดียหรือผลงานของผู้อื่นนั้นเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันอาจมีให้เราเห็นผ่านตากันบ้างตามเว็บไซต์หรือเพจต่างๆ เพราะด้วยความง่ายต่อการคัดลอกและขาดความรู้เรื่องจริยธรรมและการลอกเลียนต่างๆ ซึ่งเรามีรูปแบบของการ Plagiarism ให้ลองสังเกตและเข้าใจมากขึ้นด้วยเครื่องมือตรวจ Plagiarism ฟรีจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

รูปแบบการ Plagiarism ในโลกออนไลน์ที่พบในปัจจุบัน

  • Clone  การนำเสนองานของหรือนำงานผู้อื่นมาใช้ โดยมีความเหมือนแบบคำต่อคำ
  • Ctrl-C การนำข้อความหรือเนื้อหาส่วนสำคัญมาจากแหล่งข้อมูลเดียวโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  • Find – Replace การเปลี่ยนคำสำคัญหรือวลีและนำมาแทนที่เนื้อหาที่สำคัญของแหล่งข้อมูลนั้น
  • Remix การผสมหรือถอดความจากส่วนหนึ่งของเนื้อหาจากหลายๆ แหล่งข้อมูล
  • Recycle การหยิบยืมงานเก่าของผู้เขียนอื่นมาโดยปราศจากการอ้างอิงใดๆ
  • Hybrid การรวมการอ้างอิงจากหลายๆ แหล่งข้อมูลและการคัดลอกข้อความโดยปราศจากการอ้างอิง
  • Mashup การผสมเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลในหลายๆ ที่
  • 404 Error การไม่ให้การอ้างอิงใดๆ หรือให้การอ้างอิงข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่มีอยู่จริงจากแหล่งข้อมูลหลัก
  • RSS Feed การอ้างอิงที่มาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่มีงานต้นฉบับอยู่ในแหล่งข้อมูลนั้นๆ
  • Re-tweet การอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่มีความใกล้เคียงกับข้อความหรือโครงสร้างของเนื้อหาต้นฉบับ

Plagiarism ในสื่อรูปแบบอื่นๆ

Plagiarism ไม่เพียงปรากฏในงานเขียนเท่านั้นแต่อาจเกิดขึ้นได้ในสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น การนำรูปภาพ วิดีโอหรือบางส่วนของเพลงมาสร้างเป็นผลงานของตนเองโดยไม่มีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานหรือมีการอ้างอิงไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การคัดลอกสื่อต่างๆ โดยเฉพาะรูปภาพจากเว็บไซต์อื่นๆ แล้วนำมาใช้ในเว็บไซต์ของตนเอง ตัดต่อวิดีโอจากการใช้ Footage จากวิดีโอของผู้อื่นหรือนำเพลงลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และอื่นๆ อีกมากมาย ผู้ที่ทำงานในส่วนนี้ควรศึกษาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์และคำนึงถึงจรรยาบรรณเป็นหลักเพื่อไม่ให้มีการคัดลอกผลงานเกิดขึ้น

สาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ ของการ Plagiarism อาจเกิดได้จากการที่ในยุคสมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป ในยุคที่มีระบบอินเทอร์เน็ตหรือโลกออนไลน์นั้นทำให้ผู้เขียนต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมากขึ้น อีกทั้งปัจจัยหนึ่งอาจเกิดจากที่ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั้นไปไกลทำให้การทำสำเนาข้อมูลหรือคัดลอกนั้นง่ายกว่าที่เคยเป็นอย่างมาก ซึ่งในต่างประเทศนั้นการตรวจ Plagiarism เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ผู้ที่ทำการ Plagiarise จะได้รับการลงโทษในรูปแบบต่างๆ เช่น การถูกระงับการเรียนหรือแม้แต่ไล่ออกจากโรงเรียน หรือที่ทำงาน หรือแม้แต่การถูกปรับเป็นเงินถ้าหากผิดกฎด้านการคัดลอกผลงาน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เหล่านี้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ค่อนข้างผิดจริยธรรมร้ายแรงเลยทีเดียวและในอนาคตอาจมีการ Plagiarism เกิดขึ้นอีกมากมายเพราะด้วยความที่การทำคอนเทนต์บทความต่างๆ นั้นเป็นที่นิยมมากขึ้นและในด้านของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้นอาจทำให้เราได้พบเห็นกับเหตุการณ์เหล่านี้บ่อยขึ้นในอนาคต หากทำความเข้าใจและศึกษาไว้เราก็จะสามารถสร้างบทความที่ดีและไม่ซ้ำใครแน่นอน และอาจยังช่วยป้องกันไม่ให้เราถูกขโมยไอเดียหรือผลงานอีกด้วย โดยเราสามารถใช้งานเว็บตรวจการคัดลอกงานภาษาไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจ Plagiarism ฟรีว่าอาจเกิดขึ้นในลักษณะใดได้บ้างตามลักษณะแบบไหนบ้างและข้อควรหลีกเลี่ยงอย่างไรมาดูกันเลย

เช็ค Plagiarismเพื่อการเขียนที่มีคุณภาพและหลีกเลี่ยงการ Plagiarism 

การเขียนที่ดีและวิธีการเบื้องต้นในการเขียนบทความเพื่อหลีกเลี่ยงการ Plagiarism โดยการวิธีการเขียนเหล่านี้เป็นพื้นฐานการเขียนบทความซึ่งหลีกเลี่ยงการคัดลอกของบทความที่มีอยู่แล้ว

  • Quoting คือการอ้างอิงคำพูดของผู้ที่เขียนบทความนั้นๆ มาก่อนหน้านี้เป็นการอ้างถึงหรือให้เครดิตจากคำ วลีหรือประโยคที่มีบุคคลกล่าวก่อนหน้านี้ เช่น If it can be written or thought, It can be filmed ( Stanley Kubrick ) ในตัวอย่างนี้มีการอ้างอิงหรือให้เครดิตกับผู้ที่พูดถึงประโยคนี้ การอ้างอิงสามารถทำได้ในหลายรูปแบบอาจใส่วันที่หรือปีที่พูดได้เพื่อเป็นการให้เครดิตที่มีข้อมูลชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่การอ้างอิงประเภทนี้ทำได้เฉพาะคำพูดและต้องใส่เครื่องหมายคำพูด “…” เท่านั้น ถ้าหากคัดลอกมาทั้งประโยคและใส่การอ้างอิงก็ถือเป็นการ Plagiarism ได้
  • Paraphrasing คือการปรับเปลี่ยนประโยคหรือ Rewrite ด้วยสำนวนภาษาของตน แต่ยังคงแนวคิดเดิมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Plagiarism เนื่องจากการเขียนบทความในบางครั้งเนื้อหาบางอย่างนั้นอาจมีคนเคยเขียนไปแล้ว เราควรหลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความเหมือนกันกับบทความอื่นๆ โดยใช้การเปลี่ยนแปลงของภาษาได้ 
  •  Summarising คือ การสรุปความจากการอ่านหรือทำความเข้าใจของบทความที่เราต้องการจะเขียนนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลักษณะการเขียนที่เหมือนบทความอื่นจนเกินไปจึงควรสรุปด้วยตนเองและเขียนด้วยภาษาของตนเอง การเขียนในลักษณะนี้อาจไม่เพียงแค่สรุปประเด็นหรือใจความสำคัญต่างๆ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ เข้าไปเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ใกล้เคียงกับบทความก่อนหน้ามากที่สุด

Plagiarism อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยไม่ได้ตั้งใจทั้งนี้การเช็ค Plagiarism กับบทความอื่นๆ บนเว็บไซต์หรือเพจต่างๆ เป็นเรื่องที่ดีที่นักเขียนควรทำเพราะ อาจบังเอิญไปตรงกับบทความที่มีก่อนหน้านี้ หรือถ้าหากเราคิดว่าการเขียนบทความของเราเป็น Original หรือตัวต้นฉบับเราสามารถอัพโหลดไฟล์บทความของเราลงบนเว็บไซต์ที่มีไว้เพื่อเช็ค plagiarism ได้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นคัดลอกผลงานหรือลอกเลียนบทความของเราได้

ความเข้าใจในตนเองกับการเขียนบทความที่ดี

ยิ่งไปกว่าความเข้าใจในการตรวจ Plagiarismหรือเช็คการคัดลอกบทความแล้ว พื้นฐานการเขียนที่ดีนั้นมักเริ่มจากการเป็นตัวของตัวเอง ผู้อ่านนั้นจะได้รับความรู้สึกที่เพลิดเพลิน ไหลลื่นมากกว่าถ้าหากบทความนั้นมาจากผู้เขียนโดยตรง การมีไอเดียการเขียนบทความต่างๆ ที่เป็นของตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีในการทำคอนเทนต์หรือบทความต่างๆ เพราะมีการใช้ภาษาหรือเล่าเรื่องที่มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลโดยจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซ็ปหรือระดับภาษาต่างๆ ที่มาจากผู้เขียนโดนตรงซึ่งเป็นการสื่อสารที่มีความเป็นธรรมชาติมากกว่าการไป Rewrite หรือสรุปประเด็นมาจากบทความอื่นๆ การศึกษาเรื่องหรือข้อมูลต่างๆ ทำความเข้าใจ เรียงลำดับและจดบันทึกสรุปและนำมาเล่าต่อผ่านตัวตนของตัวเองนั้นจะทำให้บทความออกมามีคุณภาพและมีความสร้างสรรค์ในตัวเองอย่างที่สุด

ตรวจ Plagiarismบนเว็บไซต์เพื่อป้องกันการคัดลอกผลงาน

ผู้เขียนสามารถเข้าไปตรวจสอบบทความของตนว่ามีความคล้ายหรือมีการคัดลอกผลงานหรือไม่ เช็ค Plagiarism ผ่านเว็บไซต์เว็บตรวจการคัดลอกงานภาษาไทยและเว็บไซต์อื่นๆ อีกมากมายโดยอาจมีทั้งที่เป็นฐานข้อมูลแบบปิดที่ไม่สามารถเข้าถึงได้และฐานข้อมูลแบบเปิดที่เข้าถึงได้

สำหรับภายในประเทศ

สำหรับต่างประเทศ

CopyCartch

WriteCheck

Anti-Kobpae

Turnitin

อักขราวิสุทธิ์

IThenticate

 

Plagramme

 

Plagiarismcheck.org

โดยนอกจากนี้การเช็ค Plagiarism และการตรวจ Plagiarism ในยุคปัจจุบันนี้ยังทำได้อีกช่องทางและเป็นการตรวจ Plagiarism ฟรีนั้นคือการตรวจผ่านเว็บตรวจการคัดลอกงานภาษาไทยโดยจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบผลงานเพื่อปกป้องการลอกเลียนแบบบทความหรือวรรณกรรมต่างๆ ได้

การเช็ค Plagiarism ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญมากๆ ของการเป็นนักเขียนคอนเทนต์ที่ดี โดยเฉพาะเมื่อการเขียนเข้ามาเป็นบทบาทที่สำคัญของการตลาดออนไลน์ ช่องทางการสื่อสารบนโลกออนไลน์ทำให้บทความการตลาดดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างมากมาย หลากหลายบทความสามารถหาได้อย่างง่ายดายบนโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคัดลอกของบทความ ADME ก็มีวิธีการดีๆ อย่างการตรวจ Plagiarism ฟรี ผ่านเว็บตรวจการคัดลอกงานภาษาไทย เพื่อให้นักเขียนเหล่าตรวจ Plagiarism กันอย่างไม่มีจำกัด และเพื่อไม่ให้พลาดเทคนิคการเขียนบทความการตลาดออนไลน์ ติดตามเราเลยได้ที่