Twitter space คู่แข่งใหม่ของ Clubhouse ในสังเวียน Live Audio
Twitter space ห้องแชทด้วย “เสียง” ที่ถูกปล่อยออกมาเพื่อเข้าร่วมสังเวียนของแพลตฟอร์ม Live Audio ซึ่งหลายคนคงจะสงสัยกันแล้วใช่มั้ยล่ะ ว่าเจ้าTwitter spaces คืออะไรและ Twitter spaces ใช้ยังไง รวมถึงในการใช้งาน Twitter spaces ทำยังไง วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับฟีเจอร์ใหม่ของทาง Twitter นี้ไปพร้อม ๆ กัน!
เพราะตอนนี้ในโลกโซเชียลมีเดียได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นทำให้การทำการตลาดออนไลน์มีทางเลือกที่มากขึ้น จนปัจจุบันได้มีแพลตฟอร์ม Live Audio เกิดขึ้นมา ซึ่งก็อีกเป็นหนึ่งกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ที่เปิดพื้นที่ให้เราได้เข้าไปแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เรื่องราวดี ๆ ที่เราสนใจ รวมถึงเป็นการพูดคุยกันผ่านเสียง ที่ตัวคุณเองก็สามารถเป็นวิทยากรหรือผู้พูดได้ ! ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้ก็มีแพลตฟอร์มสุดฮิตที่เป็นกระแสอย่างรวดเร็วอย่าง Clubhouse ที่เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทาง Twitter แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดฮิตจึงได้มีการออกฟีเจอร์ใหม่อย่าง Spaces ขึ้นมา เพื่อเข้าร่วมศึกในสังเวียน Live Audio ที่กำลังเป็นที่นิยมของการทำการตลาดดิจิทัลในปัจจุบัน
โดยเรื่องที่เราจะมาเล่าในวันนี้จะทำให้ทุกคนรู้และสามารถใช้งานเจ้าฟีเจอร์ Spaces จาก Twitter นี้ได้อย่างแน่นอน โดยความน่าสนใจของฟีเจอร์จะเป็นยังไง Twitter spaces ทำยังไง จะสามารถสู้ศึกในสังเวียน Live Audio กับแพลตฟอร์มยอดฮิตอย่าง Clubhouse ได้หรือไม่ ไปดูกันเลย
รู้จักกับ Twitter space กับไอเดียของการเริ่มต้น
ในขณะที่ความฮอต ฮิตของ Live Audio Platform อย่าง “Clubhouse” ได้เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดได้ แต่ตัดภาพมาที่ฝั่งของ Twitter เขาก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะก็ได้มีการแอบพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า “Spaces” เพื่อเอามางัดกับ Clubhouse ในสังเวียนของ Live Audio แบบฟาด ๆ กันไปเลย!!
ไอเดียของตัว Twitter spaces คือห้องแชทด้วยเสียง ซึ่งเจ้าของห้องก็สามารถเลือกได้เลยว่าจะสร้างเป็นห้องแบบส่วนตัว หรือแบบสาธารณะ และในฝั่งของผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ถ้ากด Follow ใครไว้ เราก็จะสามารถเข้าไปฟัง Space (คือ Clubhouse เรียก Room แต่ Twitter เรียก Space) ของคนที่เรา Follow ได้เลย หรือถ้ามีห้องไหนน่าสนใจ จะแชร์เป็นลิงก์แล้วส่งต่อให้เพื่อน ๆ เข้ามาฟังอีกก็ได้เหมือนกันนะ
Speakers ของ Twitter space เป็นใครได้บ้าง ?
ถ้าถามว่า Speakers ใน Twitter spaces คือใครได้บ้างเนี่ย Host ของห้องนั้น ๆ จะสามารถเลือกได้ตั้งแต่แรกเลยว่าอยากให้ใครพูดได้บ้างตั้งแต่ตอนสร้างห้อง โดยมีให้เลือกทั้ง
Everyone | ทุกคน |
People You Follow | คนที่ Host ติดตามเท่านั้น |
Only People You Invite To Speak | คนที่ถูกเชิญให้พูดจากทาง Direct Message เท่านั้น |
ซึ่งตอนนี้จำนวนของ Speakers ที่พูดพร้อมกันได้จำกัดอยู่ที่ 10 คนเท่านั้นนะ แต่ในฝั่งของ Listeners นั้น ขอบอกได้เลยว่าตอนนี้ยังไม่มีกำหนดลิมิตนะ
หน้าที่ของ Host ที่นอกเหนือจากการเลือก Speakers
Host ของ Twitter space นั้นจะต้องเป็นแอคเคาท์ทวิตเตอร์ที่มีผู้ติดตาม มากกว่า 600 คน และมากไปกว่าการเลือก Speakers แล้วนั้น Host หรือคนสร้างห้องเนี่ย ยังกุมอำนาจหลาย ๆ อย่างไว้ด้วยนะ นั่นก็คือ
- สามารถไล่ รีพอร์ต และบล็อกคนที่เข้ามาป่วนได้
- เป็นคนจบการ Live ได้
- รวมถึงยังสามารถกด Download ข้อมูลของ Spaces ในครั้ง ๆ นั้นเก็บไว้ก่อนที่ Twitter จะกำจัดออกจากระบบไปภายใน 30 ได้อีกด้วยนะ!!
พรีวิวหน้าตาของเจ้า Spaces จาก Twitter
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน ๆ มานี้ ทาง Twitter ก็ได้เริ่มมีการปล่อยพรีวิวหน้าตาของเจ้า Spaces นี้ออกมาเพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยให้รู้กันคร่าว ๆ ว่า Twitter spaces ทำยังไง แล้วก็เป็นการโชว์ว่าเจ้าฟีเจอร์ตัวนี้ได้ถูกพัฒนาไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว ซึ่งก็จะมีอัปเดตต่างๆ อย่างเช่น…
Full Guest View
อันนี้เหมือนกับ Clubhouse เลยก็คือ จะเป็นส่วนที่โชว์ว่าใน Space นั้น ๆ มีใครกำลังเข้าร่วมอยู่บ้าง โดยจะมีการแบ่งคนในห้องเป็นออกเป็นกรุป ๆ เหมือน Clubhouse เลย ก็คือ Speakers และ Listeners ซึ่งในฝั่งของ Speakers ก็จะมีฟังก์ชัน Requests (เหมือนการยกมือของ Clubhouse) ที่จะช่วยให้สามารถดูได้ง่ายขึ้นว่ามีใครอยากจะพูด หรือยกประเด็นอะไรขึ้นมารึเปล่านั่นเอง
Attendance Order
Twitter ก็ได้มีการจัดลำดับผู้เข้าร่วมใน Spaces ให้ดูและเข้าใจง่าย ซึ่งลำดับตอนนี้ก็คือ
- Host
- Speakers (เรียงลำดับการเข้าก่อน-หลัง)
- Listeners I Follow (คือผู้ฟังคนอื่นที่เรา Follow ไว้ อันนี้ต่างจาก Clubhouse คือเค้าเรียงตามจำนวน Followers) และสุดท้ายก็คือ Listeners I Don’t Follow (ที่เราไม่ได้ Follow เรียงตามจำนวน Followers)
Linkage To The Main App
Twitter ก็ได้มีการพยายามทำให้การเข้าถึง Spaces ให้ง่ายขึ้นไปอีกระดับ โดยการทำ Ring Color สีใหม่ล้อมรอบตัว Profile บนหน้าฟีดและตัว Fleets เพื่อให้เห็นว่าคนที่เรากำลัง Follow อยู่กำลังพูดหรือมีห้องใน Twitter space ที่สร้างไว้นั่นเอง ซึ่งถ้าเราสนใจ เราก็แค่กดเข้าไปได้ทันที ซึ่งถือว่าง่ายสุด ๆ ไปเลย
ทั้ง 3 อย่างที่เราได้พูดถึงไปก็ยังเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น เพราะ Twitter ก็ยังคงพัฒนาเจ้าตัว Spaces ต่อไปเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง แต่ก็ได้มีคนออกมาวิเคราะห์ไว้นะว่า เนี่ยมีโอกาสสูงมากที่จะแซงหน้า Clubhouse เพราะว่า Twitter สามารถดึงพวกโครงสร้างต่างๆ จาก Periscope ที่ Twitter ได้ทำไว้แล้วมาต่อยอดได้เลย แค่ปรับ ๆ เปลี่ยน ๆ นิดหน่อย ก็อาจจะปังกว่าแล้ว
ซึ่งเราก็คิดว่าถ้า Twitter ปล่อยตัว Spaces นี้ออกมาอย่างจริงจัง คิดว่า Topic ที่เกิดขึ้นน่าจะแหวกแนวไปพอสมควร เพราะในขณะที่ Clubhouse ทุกคนต้องใช้ Identity ของตัวเองจริง ๆ ทั้งชื่อจริง รูปจริง หลายคนก็พยายามปั้น Profile ให้ดูเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นคนเลยค่อนข้างแคร์ “ภาพลักษณ์” ของตัวเองในอยู่ประมาณหนึ่ง แต่สำหรับตัว Spaces ของทาง Twitter นั้นเราไม่ต้องแคร์ภาพลักษณ์ก็ได้ เพราะเราไม่จำเป็นต้องใช้ Identity ตัวเองตั้งแต่แรกยังไงล่ะ
ความแตกต่างของ Clubhouse กับ Twitter space
เพื่อให้ทุกคนรู้ถึงความแตกต่างของ แพลตฟอร์ม Live Audio วันนี้ทาง ADME ของเราจึงได้มาเปรียบเทียบกันชัด ๆ หมัดต่อหมัด ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ซึ่ง ความแตกต่างของ Clubhouse กับ Twitter spaces คือ
Clubhouse | Twitter space |
การเข้าใช้งานเป็นแบบ เป็น Invitation-only เท่านั้น | ผู้ที่มีแอคเคาท์ Twitter สามารถเข้าใช้งานใน Spaces ได้โดยไม่ต้องถูกเชิญ |
ไม่มี Emoji ให้เลือกใช้ | มี Emoji ให้เลือกใช้ 3 รูปแบบ |
คุณภาพเสียงต่ำกว่า Twitter space เล็กน้อย | มีคุณภาพของเสียงที่ดี แต่สัญญาณอาจไม่เสถียรเป็นบางครั้ง |
เหมาะกับผู้ฟังในวงกว้าง และผู้ที่ต้องการพูดคุยกับคนที่มีความชื่นชอบด้านเดียวกันที่เราไม่เคยรู้จัก | เหมาะกับคนที่ต้องการขยายฐานแอคเคาท์ให้มีคนรู้จักและผู้ติดตามเพิ่มมากขึ้น |
ไม่จำกัดจำนวนของผู้พูด หรือ Speaker | ผู้พูด หรือ Speaker สามารถมีได้เพียงครั้งละ 10 คน |
สามารถกำหนดเวลาในการสนทนาได้ | ไม่สามารถกำหนดเวลาในการสนทนาได้ |
บันทึกการพูดคุยจะถูกลบทันทีหลังจากห้องสิ้นสุด | Twitter จะเก็บการสนทนาใน Twitter space ไว้เป็นเวลา 30 วันก่อน แล้วจึงทำการลบ |
ผู้ใช้งาน Clubhouse ยังไม่สามารถสร้างรายได้ได้ | ครีเอเตอร์สามารถสร้างรายได้จากห้องเสียงของ Twitter space ได้ |
จะเห็นกันนะว่าความแตกต่างของเจ้า Clubhouse กับ Twitter space นั้นมีอยู่มากมายเลยทีเดียว สำหรับใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์ม Live Audio เอาไว้พูดคุยหรือสื่อสารกันด้วยเสียงก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของตัวเองเลย และสำหรับใครที่อยากทดลองใช้ Twitter space แต่ไม่รู้ว่า Twitter spaces ใช้ยังไง เราได้รวบรวมขั้นตอนในการเข้าใช้งานมาไว้ให้แล้ว!
อยากลองใช้ Twitter spaces ทำยังไง ?
จริง ๆ ตอนนี้ทาง Twitter ก็ได้เปิดในบางคนเริ่มใช้ตัว Spaces ของทาง Twitter นี้ได้แล้วนะ ถ้าใครอยากลองและไม่รู้ว่า Twitter spaces ใช้ยังไง ก็สามารถทำตามขั้นตอนทั้ง 4 ข้อนี้ได้เลย!!
- กดที่ปุ่ม Compose หรือกดที่รูปโปรไฟล์ของ Fleets แล้วกดเลือก Spaces
- เลือกได้เลยว่าจะให้ใครพูดได้บ้าง โดยมีให้เลือกทั้ง Everyone, People You Follow หรือ Only People You Invite To Speak
- กดเริ่มได้เลย แต่อย่าลืมกดปุ่มเปิดไมค์นะ
- กดเลือกว่าจะให้สามารถอัดบันทึกไว้ได้รึเปล่า และสนุกต่อกับ Spaces ได้เลย!
วันนี้เราคงจะรู้กันแล้วว่า Twitter spaces ใช้ยังไง และหากอยากลองใช้ Twitter spaces ทำยังไง แต่ในอนาคตหากมีเรื่องราวดี ๆ หรือการอัปเดตใหม่ของเจ้า Twitter space นี้เมื่อไหร่ ADME จะเอามาเล่าให้ทุกคนฟังอีกทีนะ ยังไงก็กดติดตามเพจรอกันไว้ด่วน ๆ ได้เลย! และหากใครกำลังมองหาบทความการตลาดออนไลน์ หรือ บริการรับทำการตลาดออนไลน์ ก็อย่าลืมติดต่อ ADME มาได้เลย